โทษหนักอย่างไม่มีเหตุผล สวนทางกับการกระทำเพียงเล็กน้อย
ความอยุติธรรมที่มาในนามของกฎหมาย
“ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี”
"มาตรา 112 เป็นกฎหมายอาญาที่ถูกพูดถึงมากที่สุดข้อหนึ่ง ทั้งในแง่ตัวบทกฎหมาย
ที่โทษสูงสุดเทียบได้กับความผิดฐานตระเตรียมการกบฏ ความผิดฐานฆ่าคนตายโดยไม่เจตนา
ความผิดฐานพรากผู้เยาว์ ฯลฯ แต่กลับมีองค์ประกอบความผิดไม่ชัดเจน ตีความครอบคลุมการกระทำ
หรือการแสดงความคิดเห็นได้หลายแบบ
แง่การบังคับใช้ มีการตีความการกระทำอย่างไร้ขอบเขต แต่ทุกคนสามารถผู้กล่าวโทษให้ดำเนินคดีตามมาตรา
112 ได้ จึงมีการกล่าวหากันเป็นจำนวนมากในช่วงที่มีความขัดแย้งทางการเมืองหลังจากปี 2548 เป็นต้นมา
ส่งผลไปถึงการกดดันให้เจ้าหน้าที่ในกระบวนการยุติธรรมไม่กล้าใช้ดุลพินิจที่เป็นประโยชน์ต่อจำเลย กระบวนการพิจารณาคดีส่วนใหญ่ผู้ต้องหาจึงไม่ได้ประกันตัว
และบางคดีศาลสั่งให้พิจารณาคดีเป็นการลับ สร้างบรรยากาศความหวาดกลัวขึ้นอย่างกว้างขวาง"
อัตราโทษจำคุก 3-15 ปีนั้นนับว่า
"สูงที่สุด"
เมื่อเทียบกับกฎหมายลักษณะเดียวกันในประเทศที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
(Constitutional Monarchy) ซึ่งแม้จะมีบางประเทศที่กำหนดโทษไว้ใกล้เคียงกับไทย แต่ในทางปฏิบัติไม่มีการนำมาใช้จำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชนมานานนับศตวรรษแล้ว
และอัตราโทษจำคุกต่ำสุด 3 ปี ก็ยัง
"สูงเกินไป"
จนทำให้คดีที่เป็นเรื่องเล็กน้อย ศาลไม่อาจใช้ดุลพินิจกำหนดบทลงโทษให้น้อยกว่านี้ได้
นอกจากนี้เมื่อเทียบอัตราโทษมาตรา 112 กับอัตราโทษฐานหมิ่นประมาทบุคคลกลุ่มอื่นตามกฎหมายของประเทศไทยเองก็ยังมีโทษ "รุนแรงเกินไป" อย่างไม่ได้สัดส่วน
มองเผิน ๆ แล้ว 112 ดูเป็นหลักประกันความศักดิ์สิทธิ์
และความเคารพรักของปวงชนชาวไทยต่อสถาบันกษัตริย์ แต่เมื่อดูในแง่การบังคับใช้จริงแล้ว
จะพบได้ว่ากฎหมายนี้ถูกใช้ไม่ต่างจาก
‘เครื่องมือทางการเมือง’ สถิติสะท้อนว่ายิ่งบ้านเมืองมีปัญหา สถาบันยิ่งถูกดึงลงมาเป็นเครื่องมือปิดปาก
‘ตัวปัญหา’ ในสายตาผู้มีอำนาจมากเท่านั้น
อัปเดตข้อมูล มิ.ย. 2564
*หมายเหตุ จำนวนคดีอ้างอิงจากการยืนยันโดย iLaw
ทีมงานกำลังดำเนินการขอข้อมูลเพิ่มเติมจากฐานข้อมูลของศาล
อาจมีข้อมูลเพิ่มเติมในภายหลัง
คลิกรูปเพื่ออ่านรายละเอียด
“ปัญหาใหญ่มากๆ ของมาตรา 112 คือมันมีนโยบายที่ให้ใช้อย่างร้ายแรงที่สุด ให้เป็นความลับ มันทำให้ภาพลักษณ์ของระบบยุติธรรมในคดี 112 เป็นกฎหมายที่ไม่ชัดเจนแน่นอน กฎหมายไม่มีความโปร่งใส และไม่สมเหตุสมผล อย่าลืมว่า เวลาความน่าเชื่อถือของกระบวนการยุติธรรมมันล้มเหลว มันพังลงไปแล้ว มันไม่ได้พังเฉพาะมาตรา 112 เวลาคนเสื่อมศรัทธากับระบบตุลาการแล้ว มันเสื่อมไปหมด ไม่ว่าต่อไปนี้คุณจะตัดสินคดีอื่น คดีไหนก็ตาม คนก็จะเกิดความไม่เชื่อถือ เกิดความสงสัยในการกระทำของสถาบันตุลาการ ถ้าเป็นอย่างนั้นสังคมไทยอยู่ไม่ได้”
ดร. เข็มทอง ต้นสกุลรุ่งเรือง
คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
“เราสามารถมีระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขได้ แต่เราก็สามารถทำให้กฏหมายนั้น มันไม่ขัดแย้งต่อหลักการพื้นฐาน สิทธิ และเสรีภาพของประชาชนในสังคมประชาธิปไตยได้ และนั่นก็ควรเป็นสิ่งที่ควรจะทำ”
รองศาสตราจารย์ ดร. วาสนา วงศ์สุรวัฒน์
คณะอักษรศาสตร์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
“สังคมไทยน่าจะถวายของขวัญแก่พระองค์หรือมอบแก่คณะองคมนตรีด้วยความสุขุมรอบคอบในการจัดการปกป้องพระเกียรติของสถาบันกษัตริย์ แก้ไขมาตรา 112 ในประมวลกฎหมายอาญา ด้วยการเติมประโยคที่ว่า การฟ้องร้องในคดีหมิ่นฯ จะกระทำได้ก็ต่อเมื่อได้รับพระราชบัญชาหรือความเห็นชอบจากพระองค์ท่านเท่านั้น”
เดวิด สเตร็คฟัส
ผู้เขียนหนังสือ หนังสือ Truth on Trial in Thailand เกี่ยวกับคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพและคดีหมิ่นประมาทในประเทศไทย
“ควรมีบุคคลหรือองค์กรในระดับสูง ซึ่งไม่เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์โดยทางหนึ่งทางใด อาจเป็นองค์กรที่มีอยู่แล้วเช่น อัยการสูงสุด รัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรม นายกรัฐมนตรี หรือตั้งองค์กรใหม่ขึ้นกลั่นกรองก่อนจะอนุมัติให้ดำเนินคดีได้ อย่าปล่อยให้ใครๆ ก็สามารถตั้งตัวเป็นโจทย์ฟ้องร้องได้ และปล่อยให้ตำรวจชั้นผู้น้อยและอัยการชั้นผู้น้อย ต้องใช้วินิจฉัยของตนเองว่าจะดำเนินคดีหรือไม่ ซึ่งยากที่จะใช้อำนาจวินิจฉัยนั้นอย่างเที่ยงธรรม”
นิธิ เอียวศรีวงศ์
อดีตอาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมา มีผู้คนมากมายออกมาเรียกร้องให้มีการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงมาตรา 112 เพื่อปลดล็อคเครื่องมือทางการเมือง และพาประเทศของเราก้าวไปข้างหน้า หลายคนสูญเสียมากกว่าที่ควรจะสูญเสียจากคำพูดประโยคเดียว หลายคนต้องหลบลี้หนีจากบ้านไป มีเทียนที่ถูกจุดเพื่อรำลึกถึงคนที่จากไปอย่างไม่มีวันกลับ
แม้วันนี้จะยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรม แต่พวกเราที่เหลืออยู่ก็ยังมีงานให้ทำต่อ เท่าที่เราจะทำได้
ถ้ายังไม่รู้จะทำอะไร โปรดช่วยเล่าต่อเท่าที่เล่าได้
#112เท่าที่เล่าได้
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
4. รายงานจำนวนข้อหาความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 107-112 ที่ขึ้นสู่การพิจารณาของศาลชั้นต้นศาลทั่วราชอาณาจักร ประจำปี 2549-2563 โดยสำนักแผนงานและงบประมาณ สำนักงานศาลยุติธรรม